สารอาหารแก้ปัญหาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ บำรุงไต
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection, UTI) รวมไปถึงท่อปัสสาวะอักเสบ (การติดเชื้อของท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ) และกรวยไตอักเสบ (การติดเชื้อในไต) มีลักษณะอาการที่ชัดเจนและกลับเป็นซ้ำได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม UTI อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ร้ายแรงได้ หากรักษาล่าช้าอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ไตวายเฉียบพลัน ฝีที่ไต และแผลเป็นที่ไตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรับการรักษาที่เหมาะสม การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ในที่สุด และ การติดเชื้อซ้ำๆจะก่อให้เกิดการพัฒนาของเชื้อโรคไปสู่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งดื้อต่อยาปฏิชีวนะทุกชนิด เป็นเรื่องที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหลัก ๆ เกิดจากเชื้ออีโคไล (E.Coli) คือชนิดของแบคทีเรียที่ปกติอยู่ในลำไส้
สารอาหารที่มีงานวิจัยทางการแพทย์ ในการบรรเทาอาการปัสสาวะแสบ ขัด และ หยุดการลุกลามของการติดเชื้อ ได้แก่ ผลแครนเบอร์รี่ และ ผลราสเบอร์รี่
ผลแครนเบอร์รี่ (Cranberry) งานวิจัยผลแครนเบอร์รี่ให้ผลในเชิงป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำ โดยกลไกการป้องกันเชื้อแบคทีเรียเกาะติดเซลล์ของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งช่องคลอดด้วย ในผลแครนเบอร์รี่มีสารสำคัญชื่อ โปรแอนโทไซยานิดีน ชนิด A (PACs) ซึ่งนอกจากป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ยังลดอาการปวดแสบทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย เมื่อรับประทานผลแครนเบอร์รี่ แบคทีเรียอีโคไล (E.Coli) จะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนที่ และ การยึดติดกับผนังกระเพาะปัสสาวะ และ แบคทีเรียจะถูกล้างออกโดยทางปัสสาวะ
ผลราสเบอร์รี่ (Rasberry) ผลราสเบอร์รี่ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโดยการป้องกันการเกาะติดของแบคทีเรียกับเซลล์ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เซลล์ทางเดินปัสสวะ และ ยังป้องกันการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะด้วย
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ
1. ผู้หญิงที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด ผู้หญิงที่ยังมีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงมีครรภ์ ผู้หญิงหมดประจำเดือน
2. ผู้ชายที่ ต่อมลูกหมากโต
3. ผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิต้านทาน
4. ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
5. ผู้ที่มีปัญหาการขวางกั้นในทางเดินปัสสาวะเช่น ผู้ที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต
6. ผู้ที่มีปัญหากระเพาะปัสสาวะไม่ปกติ เช่น ไขสันหลังอักเสบ หรือ กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถปรับตัวได้หลังวัยหมดประจำเดือน
7. ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ที่อยู่ในโรงพยาบาล
References
เอกสารเพื่อการอบรมภายในบริษัทเท่านั้น